ซ่อมรถฉุกเฉิน

ซ่อมมรถฉุกเฉิน

โทร 086-3050805

เมื่อิรถคุณเสียเราพะร้อมไปช่วยเหลือคุณเพียงคุณโทรมาหาเราแอดไลเราแชร์โลเคชั่นมาให้เรา

94230

อันนี้เพื่อแอดงานจะไวครับ

แบตเตอร์รี่พัทยา2

 

การตั้งชมรม

ระเบียบการว่าด้วยชมรม

ชมรม

ความหมายของชมรม

หมายถึง ที่พัก, ที่ประชุม; หมู่พวก, บางทีว่า โชมโรม

หมายถึง ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมนักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์ ชมรมผู้สูงอายุ เป้นต้น

ลักษณะของชมรม

ชมรม ไม่เป็นนิติบุคคล กลุ่มคิดจะตั้งก็ตั้งได้ทันที การตั้งจึงขึ้นอยู่กับสมาชิกชมรมว่าจะร่างข้อบังคับ หรือระเบียบอะไรก็ตกลงกันเอง อยากเลิกเมื่อไหร่ตกลงกันเองในสมาชิก  ชมรมควรมีจุดประสงค์ของชมรมว่าตั้งชมรมขึ้นมาเพื่ออะไร และอยากทำอะไร รวมทั้งควรประกาศจุดยืนของชมรมให้เป็นที่รู้กันในหมู่สมาชิกและสังคมภายนอก จะได้ทำงานได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง เขียนเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษรร่างเป้นกฏบังคับ

ขั้นตอนของการจัดตั้งชมรมทั่วๆ ไปมีดังนี้

ขั้นที่ 1 เริ่มต้น
เริ่มต้นต้องหากลุ่มคนที่มีความชอบ ความสนใจในเรื่องเดียวกันก่อน ซึ่งเรื่องนี้มักไม่ใช่ปัญหา เพราะคนที่ดำริจะจัดตั้งชมรมฯ ก็มักจะมีกลุ่มคนนี้ด้วยอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ควรต้องลงลึกคือเรื่องของแนวคิดของกลุ่ม เพราะหากแนวคิดไม่ตรงกันแล้ว ชมรมฯถึงหากตั้งขึ้นมาก็จะไม่ประสบความสำเร็จ โดยสรุปก็คือในขั้นเริ่มต้น ต้องมีกลุ่มคนที่ทำงานเหมือน ๆ กันมาอยู่ร่วมกัน และมีเจตน์จำนงเช่นเดียวกัน การตั้งชมรมฯจึงจะเกิด
ขั้นที่ 2  จำนวนคน
กลุ่มคนตามข้อหนึ่งนั้นไม่จำเป็นต้องมีมากคือ ถ้ามีคนใจเดียวกันประมาณเพียง 10 คน ก็จะตั้งเป็นชมรมฯได้

ขั้นที่ 3  แกนนำ
จากนั้นก็ต้องเลือกคนที่จะมาเป็นแกนนำของกรรมการชมรมฯ บุคคลหลัก ๆ ในช่วงเริ่มต้นมีเพียงแค่ 2 คน คือตำแหน่งประธานและตำแหน่งเลขา(เรขาธิการ)

ขั้นที่ 4  กรรมการ

กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ได้แก่

– รองประธาน (อาจมีมากกว่าหนึ่งคน แต่ต้องใช้กับชมรมที่มีขนาดใหญ่ และทำงานมาได้ช่วงหนึ่งแล้ว และมีงานหรือกิจกรรมมากจนต้องมีรองประธานมาช่วยงาน)

–  ผู้ช่วยเลขาธิการ (เช่นเดียวกัน ใช้สำหรับชมรมขนาดใหญ่ตั้งมานานแล้วพอสมควร ถ้าเป็นชมรมขนาดเล็กหรือเพิ่งเริ่ม ตำแหน่งนี้ไม่ควรมีเพราะจะเกิดการเกี่ยงงานกันขึ้นได้)

–  บัญชี (สำหรับจัดระบบบัญชี และทำงบดุลแถลงต่อสมาชิกในการประชุมประจำปี ใช้เฉพาะสำหรับชมรมฯที่มีงานมาก และมีงบประมาณสูงเกินที่จะปล่อยไปโดยไม่ตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีโครงการที่ขอบริจาคจากประชาชนทั่วไป แต่สำหรับชมรมเล็ก ๆ แล้วไม่ควรมีตำแหน่งนี้เลย เพราะจะทำให้ยุ่งยาก หาคนมาทำงานลำบาก และจะทำให้การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นไม่ได้)

– นายทะเบียน (คนนี้ก็มีบทบาทสำคัญ เพราะจะต้องเป็นคนที่รวบรวมรายชื่อของสมาชิกทั้งใหม่และเก่า และต้องปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาด้วย รายชื่อพวกนี้สำคัญมากหากชมรมอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะจะต้องใช้สำหรับการประสานงานทั้งระหว่างมวลสมาชิกและกับบุคคลภายนอก)

– ฝ่ายนายทุน (หากต้องการทำงานให้ใหญ่ มีโครงการสนองตอบต่อสังคมได้มากตำแหน่งนี้ก็อาจจำเป็น มิฉะนั้นก็ทำงานไม่ได้)

– ประชาสัมพันธ์ (ตำแหน่งนี้สำคัญในยุคข่าวสารแบบปัจจุบัน ต้องเป็นคนที่กว้างขวางในสังคมทั้งท้องถิ่นและส่วนกลาง เพื่อที่จะได้กระจายข่าวกิจกรรมของชมรมฯให้สังคมภายนอกรู้จัก ซึ่งจะเป็นผลพวงต่อให้ฝ่ายหาทุนทำงานให้ง่ายขึ้นด้วย)

ขั้นที่ 5 กฎหมาย

ชมรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นในประเทศไทยนี้ไม่มีฐานะทางกฏหมายทั้งสิ้น ไม่เหมือนกับสมาคมหรือมูลนิธิที่ต้องไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและสำนักตำรวจแห่งชาติการตั้งชมรมจึงง่ายมาก หากหากลุ่มคนที่มีคุณสมบัติตามที่เขียนไว้ข้างต้นได้พอสมควร ก็สามารถประกาศจัดตั้งเป็นชมรมขึ้นมาได้เลย

ขั้นที่ 6 ชื่อและโลโก้

เมื่อเสร็จจากการตกลงปลงใจตั้งเป็นชมรมแล้ว ก็ต้องตั้งชื่อชมรม ซึ่งควรตรวจสอบกับวงการในวงกว้างเพื่อที่จะได้ไม่มีชื่อซ้ำซ้อนและเกิดการสับสนกันในภายหลัง จากนั้นก็ต้องหาคนที่มีฝีมือมาช่วยออกแบบสัญญลักษณ์หรือโลโก้ของชมรมฯ แต่หากไม่ต้องการความสวยงาม (เท่)ในด้านนี้ ตัวโลโก้ก็ไม่จำเป็น แต่ชื่อชมรมนั้นจำเป็นแน่เพราะไม่เช่นนั้นคนอื่น (รวมทั้งเราด้วย)ก็ไม่รู้จะเรียกกลุ่มของเราว่าอะไร

ขั้นที่ 7 จุดประสงค์

ชมรมควรมีจุดประสงค์ของชมรมว่าตั้งชมรมขึ้นมาเพื่ออะไร และอยากทำอะไร รวมทั้งควรประกาศจุดยืนของชมรมให้เป็นที่รู้กันในหมู่สมาชิกและสังคมภายนอก จะได้ทำงานได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ถ้าเขียนเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษรเลยได้ก็

ขั้นที่ 8  กิจกรรม

กิจกรรมของชมรมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ตั้งมา หากตั้งขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยว แต่ไปจัดกิจกรรมการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายก็คงจะผิดจุดประสงค์ไป และกิจกรรมของชมรมนี่แหล่ะจะเป็นตัวบ่งชี้อนาคตของชมรม หากตั้งขึ้นมาแล้วไม่มีกิจกรรมไปสักระยะหนึ่ง ความเป็นชมรมก็จะสลาย

ขั้นที่ 9 ข้อบังคับ

ถ้าการที่จะมีข้อบังคับของชมรมทำให้ยุ่งยากจนจัดตั้งชมรมไม่ได้ ก็อย่าไปสร้างเงื่อนไข
นี้ขึ้น เพราะเกือบทุกชมรมในประเทศไทยไม่มีข้อบังคับของชมรมแต่ก็ทำงานกันได้ ดังนั้นข้อนี้จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นยิ่งยวด แต่ถ้าหากสามารถจัดให้มีขึ้นได้ ก็ช่วยให้การทำงานของชมรมรัดกุม รอบคอบ และมีข้อโต้แย้งน้อยลง อย่าลืมว่าชมรมเป็นองค์กรหลวม ๆ ไม่มีกฏหมายรองรับ การไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงเป็นหัวใจหลักของการทำงานในลักษณะนี้มากกว่าข้อบังคับที่ตั้งขึ้นแล้วไม่มีคนปฏิบัติตาม

ขั้นที่ 10  ประชุมประจำปี

การประชุมประจำปีจะจัดว่าจำเป็นก็จำเป็น จะว่าไม่ก็ไม่ ขึ้นอยู่กับขนาดและความตั้งใจจริงของชมรม แต่ถ้าเป็นชมรมใหญ่แล้วสิ่งนี้จำเป็นมาก เพราะเป็นโอกาสที่กรรมการจะแถลงผลงานให้สมาชิกทราบว่าทำอะไรไปบ้างในปีที่ผ่านไป มีการแถลงงบดุลให้โปร่งใสและให้สมาชิกทราบและซักถาม รวมทั้งมีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ด้วย (ถ้าจะมี) ส่วนการประชุมประจำปีก็เป็นได้ทั้งอย่างมีรูปแบบ (ประชุมในห้องประชุม มีประธาน มีการแถลง มีการซักค้านฯลฯ) และแบบง่าย ๆ (กินข้าวร่วมกัน และปรึกษาหารือกัน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของชมรม

แนวทางในการตั้งชมรมของสถาบันการศึกษาหรือของกลุ่มสมาชิกที่ต้องการร่วมทำกิจกรรชมรม
สถาบันการศึกษาเป็นสถานที่ให้ความรู้ในทางทฤษฏีและในทางปฏิบัติ สมาชิกทุกคนล้วนต้องการที่จะใฝ่หาความรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้จากกลุ่มชมรมที่สมบูรณ์
ดังนั้นการตั้ง “ชมรม” จึงเป็นองค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของกลุ่มสมาชิก

ชมรม คือ กิจกรรมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มที่แนวคิดในการดำเนินการด้านกิจกรรมที่สอดคล้อง
หรือคล้ายคลึงกัน มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
ซึ่งไม่ขัดกัน ต่อนโยบายขององกรณ์และสังคมหรือกฏหมาย ดังนั้นชมรมจึงเป็นอีกรูปเเบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมในกลุ่ม ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ทำกิจกรรม ตามความถนัดเเละความสนใจ นอกจากนี้กิจกรรมชมรม ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวสมาชิกในการเสริมสร้างความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

หลักเกณฑ์การตั้งชมรม
เมื่อบุคคลได้รวมกลุ่มเพื่อที่จะขอตั้งชมรมแล้วนั้น การดำเนินการขอจัดตั้งชมรม
ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ชมรมต้องมีสมาชิกเริ่มก่อตั้งไม่น้อยกว่า 50 คน
2. กลุ่มผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งชมรม ให้ยื่นแบบฟอร์มการขอรวมกลุ่มจัดตั้งชมรม
พร้อมด้วยรายละเอียดของชมรมดังต่อไปนี้
2.1 ชื่อ และวัตถุประสงค์ของชมรม
2.2รายชื่อที่ปรึกษาทางกฏหมาย
2.3รายชื่อสมาชิกที่ขอจัดตั้ง
2.4รายชื่อกรรมการบริหาร ให้ระบุตำแหน่งดังต่อไปนี้
1.ประธานชมรม
2.รองประทานชมรม
3.เลขานุการ
4.เหรัญญิก
5.นายทะเบียน
6.ประชาสัมพันธ์
7.ตำแหน่งอื่นๆที่จำเป็น

การดำเนินการขอจัดตั้งชมรม
การรวบรวมกลุ่มของสมาชิกเพื่อขอจัดตั้งชมรม กลุ่มต้องดำเนินการผ่านขั้นตอน ดังนี้
1.การดำเนินการเพื่อขอจัดตั้งชมรม ให้นำเสนอต่อสมาชิกกลุ่มทุกคน โดยผ่านคณะกรรมการบริหารและผู้ดำเนินงาน
2.การยื่นแบบฟอร์มขอจัดตั้งชมรม จะต้องทำในวันและเวลาที่คณะกรรมการของกลุ่มที่กำหนดไว้

3.เมื่อคณะกรรมการในกลุ่มลงมติให้เห็นสมควรจัดตั้งแล้ว ให้นำเสนอต่อกลุ่มเพื่อทราบและพิจารณาให้ความเห็นชอบ จึงถือว่าเป็นการจัดตั้งที่สมบูรณ์
4.นโยบายการดำเนินกิจกรรมของชมรม จะต้องไม่ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ขนบธรรมเนียบประเพณีและศีลธรรมอันดีงามของไทย ตลอดจนกฏระเบียบและข้อบังคับในข้อกฏหาย

5.วัตถุประสงค์ของชมรมที่ขอจัดตั้งใหม่ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกันกับวัตถุประสงค์ของงชมรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
6.ชมรมจะสิ้นสุดสภาพได้โดยเหตุใดเหตุหนึ่งต่อไปนี้
1.มีสมาชิกน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2.ไม่มีผลงานปรากฏในรอบปีตามที่ควรจะเป็น โดยพิจารณาจากรายงานการประเมินผลการดำเนินงาน
3.คณะกรรมการบริหารชมรมเห็นสมควรให้ยุบ
4.ประธานและที่ปรึกษาเห็นสมควรให้ยุบ

ขอบคุณข้อมูลสำคัญจาก “อบรมเชิงปฏิบัติการองค์ความรู้สู่คุณธรรม.” โดย ครูวิริยา เดโช

 

อ่านพอเข้าใจนะ

สายด่วนโทรเลยครับ