สวัสดีครับ ผมนายพิทักษื ยืนยงกำลังรวบรวมญสติครับ
ช่วยเหลือเรือ่งรถตลอด24ชม. โทร 0863050805 0889996007 เลขที่ 340/3 หมู่4 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี email paramotorplay@gmail.com
สวัสดีครับ ผมนายพิทักษื ยืนยงกำลังรวบรวมญสติครับ
งานป้าาย
งานป้าย ถนน พระตำหนัก
โทร 086-1243444
แม่ นางมะลิ เครือคูณ สอนต้มเหล้า
1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไฟหรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด 220 โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก
2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอล 1 เส้น จึงมีสายรวม 4 เส้น ระบบไฟฟ้า 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรอลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิว ทรอลมีค่า 220 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลท์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลท์ ระบบนี้มีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ซึ่งระบบแสงสว่างที่ใช้หลอดไฟโดยทั่วไปจะใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส แต่ถ้าหากภายในโรงงานเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาในโรงงานก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับหลอดไฟโดย ตรง แต่ต้องนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆที่มีการใช้ระบบแสงสว่างถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุดนี้ควรจะมีชนิด จำนวน และขนาดของหลอดไฟใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลในระบบไฟฟ้า
โดยระบบจัดสรรพลังงานของบริษัท PSJ Energy Save นี้จะเป็นระบบจัดสรรพลังงานแสงสว่างที่ใช้กับระบบไฟ 1 เฟส ซึ่งหมายความว่าถ้าระบบภายในอาคารหรือโรงงานเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟส อย่างไรก็ต้องกระจายระบบไฟ 3 เฟสให้เป็นระบบ 1 เฟส 3 ชุดเพื่อใช้กับระบบแสงสว่างตามปกติ เพราะฉะนั้นระบบจัดสรรพลังงานของบริษัท PSJ Energy Save นี้จะทำการติดตั้งอยู่ในส่วนของที่ได้ทำการกระจายระบบไฟฟ้าให้เป็น 1 เฟสแล้ว โดยใช้การติดตั้งแบบ 1 เฟสให้ครบทั้ง 3 เฟส
http://www.psjenergysave.com/index.php/knowledge/articles/216;catid=41 ขอขอบคุณข้อมูล
คนโต พีงรง พี่ระ พี่ไพร พี่พึง พี่พร ภา หลอ ไพร
ปืดแต่งงานกับ พี่พึงแก้วบุญทอง
ลูกชายคนโต โป้ง
ปลาลูกสาวคนที่สอง
ลูกสาวคนสุท้องเบีย
ถ้ามีโอกาสได้มาเที่ยวเมืองจันทบุรี สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดก็คือ โบสถ์คาทอลิกจันทบุรี หรือ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เป็นโบสถ์คริสต์คาทอลิกเก่าแก่ที่มีความสวยงามมาก ถือว่าเป็น Unseen แห่งหนึ่งของเมืองจันทบุรีเลย ที่ตั้งของโบสถ์นี้อยู่ในตัวเมืองจันทบุรี บริเวณชุมชนริมน้ำจันทบูร
ที่มาของการสร้างโบสถ์แห่งนี้เริ่มจากชาวคาทอลิกเวียดนามจำนวน 120-130 คน ที่อพยพหนีการเบียดเบียนทางศาสนาในโคชิน มาตั้งรกรากอยู่ที่จันทบุรี และได้ร่วมมือกับคุณพ่อเฮิ้ต โตแลนติโน สร้างโบสถ์ไว้เป็นศาสนสถาน โบสถ์สร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2254 บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี เป็นโบสถ์ขนาดเล็ก ต่อมามีความวุ่นวายเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวคริสต์คาทอลิกแยกย้ายกระจัดกระจายกันไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2295 ชาวคริสต์คาทอลิกก็ได้กลับมารวมตัวกันใหม่ และได้สร้างโบสถ์ใหม่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี (สถานที่ตั้งในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2377
ในปี พ.ศ. 2446 ได้ก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้น (โบสถ์หลังที่ 5) ให้มีขนาดใหญ่กว่าหลังเก่าเพื่อรองรับกับจำนวนคริสตศาสนิกชนที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค ภายในตกแต่งด้วยกระจกสีที่เรียกว่า สเตนกลาส เป็นภาพนักบุญต่างๆ ซึ่งมีความงดงามและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดงานฉลองโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีครบรอบ 75 ปี ขึ้นในปีดังกล่าวด้วย นับได้ว่าโบสถ์คาทอลิกแห่งนี้เป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่และกล่าวกันว่ามีความงดงามมากที่สุดในประเทศไทย
เนื่องจากว่าที่ตั้งของอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อยู่ในชุมชนริมน้ำจันทบูร แนะนำว่าให้จัดโปรแกรมเดินเที่ยวตั้งแต่ถนนสุขาภิบาล แล้วค่อยเดินข้ามฝั่งแม่น้ำจันทบุรีมายังอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล ระหว่างทางมีตึกเก่าให้ชม
ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการมาถ่ายรูปจะเป็นช่วงบ่าย เนื่องจากว่าไม่ย้อนแสง ถ่ายรูปออกมาแล้วเห็นรายละเอียดสวย ในช่วงบ่ายโบสถ์จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายในได้ในเวลา 13.00 – 16.30 น. ยกเว้นว่าวันไหนมีพิธีแต่งงานก็งดเข้าชม ส่วนด้านนอกสามารถถ่ายรูปได้ตลอดเวลา
ยอดโดมปลายแหลมอาสนวิหารฯ เคยถูกถอดออกเมื่อสมัยพิพาทอินโดจีน พ.ศ.2483 เพื่อไม่ให้เป็นเป้าหมายในการโจมตีทางอากาศ และได้นำยอดโดมมาใส่อีกครั้งในปี พ.ศ.2552 เนื่องในโอกาสฉลองอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล 100 ปี
อนุสาวรีย์พระนางมารีอา หรือ พระแม่มารีย์ พระมารดาของพระเยซูในศาสนาคริสต์
ที่ใต้โดมฝั่งขวาจะมีนาฬิกาโบราณอยู่ ติดตั้งในปี พ.ศ. 2452 เป็นนาฬิกาขนาดใหญ่ มีเส้นรอบวงถึง 4.7 เมตร สามารถมองเห็นได้ไกลระยะ 2 กิโลเมตร
ภายในอาสนวิหารฯ ตกแต่งสวยแบบโบสถ์ในยุโรป มีซุ้มโค้งตามเสา หลังคาสูง สลักลวดลายที่ฝาผนัง
รอบตัวโบสถ์ประดับด้วยกระจกสี “สเตนกลาส” เป็นรูปนักบุญ ให้แสงผ่านเข้ามาในตัวโบสถ์ได้ กระจกสีเหล่านี้เป็นของเก่าแก่ติดตั้งในปี พ.ศ. 2455 – 2457
กระจกสี “สเตนกลาส”
ส่วนที่สวยที่สุดของโบสถ์ด้านในจะเป็นบริเวณเวทีด้านหน้า ประดับด้วยรูปปั้นพระนางมารีอา นักบุญ และไม้กางเขน อันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์
แม่พระประดับพลอย ที่หน้าแท่น เป็นรูปปั้นพระแม่มารีย์ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาก มีการประดับพลอยที่รูปปั้นถึง 2 แสนเม็ด 2 หมื่นกะรัต มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท และยังประดับด้วยทองคำ เงิน ในส่วนต่างๆ ของชุด ที่ฐานด้านล่างจะเห็นแม่พระกำลังเหยียบงู อันหมายถึงมาร สิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย